1. ขาตั้งกล้อง ขาตั้งกล้องเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการถ่าย TimeLapse มาก เพราะหลักการทำ Video Timelapse นั้นคือการถ่ายภาพนิ่งในขนาดภาพเดียวกันนำมาต่อกัน โดยระยะการถ่ายภาพห่างกันตามที่เรากำหนด สำหรับคนที่มีขาตั้งกล้องเล็กหรือไม่แข็งแรงแนะนำให้ใช้กาวสองหน้าติดกับปลายขาแล้ววางกับพื้นกดให้แน่นและหาสิ่งของสำหรับถ่วงน้ำหนักให้ขานิ่งไม่เคลื่อนไหวง่าย ในกรณีที่ถ่ายบนสะพาน ภูเขา พื้นที่ธรรมชาติ ที่มีการสั่นสะเทือนของพื้นผิว หรือลมพัดแรง ให้หาทางทำให้ขามั่นคงมากที่สุด ถึงแม้บางภาพจะมีการเคลื่อนไหวไปจากเดิมบ้าง ในกรณีที่ไม่มากเกิน 10-15% จากภาพโดยรวม เราสามารถแก้ไขโดยใส่ Effect Warp Stabilizer ในโปรแกรมตัดต่อเพื่อให้วิดีโอออกมานิ่งและสมบูรณ์ได้ แต่อาจจะมีการสูญเสียขนาดของภาพไปเล็กน้อย 2. กล้อง พูดถึงกล้อง ส่วนใหญ่รุ่นใหม่ๆ ก็จะมีระบบ Interval ที่สามารถตั้งเวลาในการถ่าย TimeLapse ได้แล้วแถมบางตัวยังสามารถสร้างเป็นวิดีโออัตโนมัติได้ในตัวกล้องอีกด้วย แต่สำหรับรุ่นเก่าถ้าไม่ใช้ตัวลั่นชัตเตอร์ที่มีระยะห่างช่วงเวลาระหว่างการถ่ายภาพแต่ละเฟรมก็จะต้องลง Firmware เสริม อย่าง Magic Lantern นั่นเอง เวลาถ่ายทำให้คำนึงถึงอัตราส่วนของภาพ ในการทำ Video นั้นโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 16:9 แต่ภาพนิ่งที่เราถ่ายจะเป็น 4:3 ซึ่งเมื่อนำมาเข้าโปรแกรมแล้ว ขยายให้พอดี เราจะสูญเสียส่วนซ้ายและขวาของภาพไปประมาณ 15-20%
3. การตั้งค่าสำหรับถ่าย พูดถึงการตั้งค่าแล้ว มันก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานและรูปแบบไอเดียของการทำ Timelapse แต่โดยพื้นฐาน เราจะตั้งค่ารูรับแสงที่ค่อนข้างสูงทำให้เก็บข้อมูลความชัดลึกของภาพได้มากขึ้นส่วนสำหรับใครที่ต้องการให้เป็น Long-Expose ก็อย่าลืมที่พก ND สำหรับการถ่ายทำด้วยนะครับ Iso ควรที่จะต่ำที่สุดเพื่อที่จะเปิด Shutter ให้นานที่สุดเท่าที่เป็นได้ และคำนึงถึงการเก็บรายละเอียดท้องฟ้าไม่ให้สว่างเกินไปหรือส่วนที่เป็น Subject ไม่ให้มืดเกินไปด้วยครับ
4. การ Process ไฟล์ พื้นฐานง่ายๆ เลยก็คือนำไฟล์ที่ถ่ายแล้ว มาลงในโปรแกรมแต่งภาพในที่นี้ของพูดถึง Lightroom ไม่ว่าจะถ่ายไฟล์ Raw มาหรือเป็นไฟล์ Jpeg ก็ตาม เวลาแต่งภาพให้คำนึงถึงองค์ประกอบทั้งหมดและในกรณีที่จะทำ TimeLapse ไปประกอบกับวิดีโอ Content อื่น ๆ เวลาแต่งภาพควรให้สีสันและคอนทราสออกมากลางมากที่สุด เพื่อทำให้การไปแต่งต่อในโปรแกรมตัดต่อนั้นง่ายขึ้น อีกข้อที่ควรคำนึงถึงคือ การ Export File ภาพที่ถ่ายมา ซึ่งโดยทั่วไปไฟล์ภาพจะมีขนาดใหญ่กว่าตัววิดีโออยู่แล้ว แต่เพื่อความหยึดหยุ่นในการใช้งาน เราสามารถ export ไฟล์ภาพขนาดใหญ่ได้แล้วเวลานำมาเข้าโปรแกรมตัดต่อทำให้เราสามารถใส่การเคลื่อนไหวต่างๆ ได้ง่ายโดยไม่ต้องคำนึงถึง Quality ของไฟล์มากนัก